วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรม


           เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวมค่อนข้างมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวมักสนใจและต้องการเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศอื่นที่แตกต่างไปจากตน โดยผ่านการชมหรือสัมผัสศิลปะวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ซึ่งหมายรวมถึง ศิลปะทุกแขนงทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หัตถกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ตลอกจนมรดกทางประวัติศาสตร์ซึ่งหมายถึง โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ซึ่งความสนใจต่อสิ่งเล่านี้เป็นพื้นฐานความสนใจดั้งเดิมของนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว
           การท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรม มีความคล้ายคลึงกับการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ซึ่งเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยว เพื่อความสนใจพิเศษอีรูปแบบหนึ่งที่จะได้กล่าวถึงต่อไป อย่างไรก็ดีการท่องเที่ยวทั้งสองรูปแบบนี้มีข้อแตกต่างกันตรงที่ การท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรมให้ความสำคัญต่อการสัมผัสวัฒนธรรม ซึ่งมีสภาพเป็นวัตถุหรือการแสดง ในขณะที่การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ให้ความสัมคัญกับการสัมผัสวัฒนธรรม โดยผ่านวิถีชีวิตมนุษย์ซึ่งเป็นผู้สร้างวัฒนธรรม

 ตัวอย่างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรม
รูปแบบที่จัดในต่างประเทศ
รูปแบบที่จัดในประเทศไทย
1. การชมปราสาทในชนบทอังกฤษ
2. การชมสิ่งมหัสจรรย์ของโลก เช่น หอเอนเมืองปิซ่า ประเทศอิตาลี นครวัด ประเทศกัมพูชา ปิรามิด ประเทศอียิปต์ กำแพงเมืองจีน ฯลฯ
3. การชมพระราชวังที่มีชื่อเสียง เช่น พระราวังแวร์ชายส์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังบักกิ้งแฮม ประเทศอังกฤษ ฯลฯ
4. การชมพิพิธภัณฑ์
5. การชมหอศิลป์
6. การชมละคนเวทีโอเปร่า
1. การชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว
2. การชมวัดต่างๆ
3. การชมการปลูกเรือนไทย ไม่มีตะปู
4. การชมการทำหัตถกรรมไทย เช่น การร้อยพวงมาลัย การทำตุ๊กตาชาววัง การทำเครื่องประดับทองคำ
5. การชมหุ่นขี้ผึ้งการละเล่นไทย
6. การชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น สุโขทัย อยุธยา กาญจนบุรี ฯลฯ
 5. การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ( ethnic tourism )

           เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ ความสนใจเบื้องต้นที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมการเดินทางดังกล่าวนี้ คือ การใฝ่หาโอกาสที่จะได้สัมผัสกับกลุ่มคนทีมีชาติพันธ์ และภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากตัวของนักท่องเที่ยวโดยตรง ด้วยความคิดที่ว่าถึงแม้พิพิธภัณฑ์และงานทางศิลปะวัฒนธรรม อาจจะสามารถสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนต่างชาติพันธุ์นั้นได้ในระดับหนึ่งก็ตาม การสัมผัสสิ่งเหล่านี้ย่อมไม่อาจเทียบได้กับการสัมผัสโดยตรงกับคนต่างชาติพันธุ์นั้น จากการได้ใช้ชีวิตร่วมกันหรือพบปะพูดคุยกันในระยะเวลาหนึ่งได้
           สมาคมนักวิชาชีพไทยในญี่ปุ่น ได้ให้คำจำกัดความของการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ว่าหมายถึง “ การท่องเที่ยวเพื่อการแสวงหา สัมผัสกับคนที่มีชาติพันธุ์และภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากตัวนักท่องเที่ยว ไม่ใช่การสัมผัสสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ”
           ระดับของการสัมผัสโดยตรงนี้ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นอย่างน้อย 2 รูปแบบ คือ
                      1. การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ โดยนักท่องเที่ยวไปพำนักอาศัยอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งๆ เป็นเวลานาน และใช้ชีวิตเหมือนคนพื้นเมืองนั้น
                      2. การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่นแบบมีการจัดการ โดยนักท่องเที่ยวไปทัศนศึกษาเยี่ยมชมกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยพยายามเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมชนเผ่านั้น และอาจจะไม่ได้ลองใช้ชีวิตในรูปแบบเดียวกับชนพื้นเมืองเสียทั้งหมด เช่น การเที่ยวชมและร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน ( Aborigine ) ในออสเตรเลีย การเที่ยวชมและทัศนศึกษาหมู่บ้านชาวเผ่าไอนุ ( Ainu ) ในญี่ปุ่น การไปชมหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว เป็นต้น
                      ในปัจจุบันการท่องเที่ยว เพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นจุดขายที่สำคัญของการท่องเที่ยวในหลานๆ ประเทศ โดนเฉพาะแอฟริกาและเอเชีย รวมถึงประเทศไทยเอง การเที่ยวป่าและสัมผัสวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา ก็เป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้ รับความนิยมมาก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นอีกมากมาย ที่มีศักยภาพสูงในการจัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ หากมีการดำเนินการอย่างเหมาะสม การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้อาจเป็นแหล่งรายได้ที่สามารถกระจายไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ ในทางตรงกันข้างหากไม่มีมาตรการรองรับการจัดการท่องเที่ยวให้เหมาะสมแล้ว การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทำให้สังคมหรือชุมชนท้องถิ่นเสียสมดุลได้
 ตัวอย่างรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น


รูปแบบที่จัดในต่างประเทศ
รูปแบบที่จัดในประเทศไทย
1. การร่วมพำนัก และทัศนศึกษาหมู่บ้าน ของชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกา หรือชาวเผ่าไอนุ ในเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น
2. การใช้ชีวิตในทุ่งหญ้า บนที่ราบสูงของมองโกล
3. การเที่ยวชม และร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ของชาวเมารีในนิวซีแลนด์
1. การชมวิถีชีวิต หรือการร่วมพำนักกับชาวไทยภูเขากลุ่มต่างๆ
2. การใช้ชีวิตกับชาวบ้าน เช่น ชาวบ้านหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช ชาวเกาะยาว จ.ภูเก็ต
3. การชมการทำนาข้าวและวิถีชาวนาไทย
4. การชมการเก็บมะพร้าว และวิถีชีวิตชาวบ้านที่เกาะสมุย





ที่มา http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/312/content/unit3/3_2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น